จัดทำ FORM - E สำหรับลูกค้าปิดตู้ เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีขาเข้า

สำหรับสินค้าบางประเภทที่จะได้รับการลดหย่อนภาษี ด้วยการออก “ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า”(Form E) เป็นเรื่องปกติที่ผู้นำเข้าสินค้าจากจีน/ต่างประเทศจะต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีนำเข้ามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพิกัดศุลกากรของสินค้าแต่ละประเภทและมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขาย เนื่องจากสินค้าแต่ละประเภทฐานภาษีไม่เท่ากัน เมื่อสินค้ามีราคาที่สูงบวกกับฐานภาษีที่สูงเมื่อคำนวณภาษีออกมาก็จะเป็นตัวเลขที่สูงตาม จึงเหมาะสมต่อใช้ FORM E เพื่อลดหย่อนภาษี เหมาะสำหรับการขนส่งแบบเหมาตู้

  • ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
  • ลดหย่อนภาษี

เช็คค่าขนส่งจากจีนเเละค่าบริการเสริม >>

 

FORM E คืออะไร

FORM E คือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ที่จะระบุสัญชาติของสินค้าว่ามีการผลิตและส่งออกจากสมาชิกประเทศภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ACFTA (ASEAN-China Free Trade Area) ซึ่งมีทั้งหมด 11 ประเทศ ประกอบด้วย จีน ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และบรูไน

ขยายความเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หรือ ACFTA เป็นการรวมกลุ่มกันทำข้อตกลงเพื่อขยายการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ และการลงทุน เเละในเงื่อนไขและข้อตกลงร่วมกันของ ACFTA นี้มีการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ที่สามารถลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภท จากประเทศสมาชิก ACFTA ได้
FORM E จึงเป็นเอกสารที่ช่วยลดภาษีการนำเข้าสินค้าจากจีน

 

รูปแบบของ FORM E และการกรอกข้อมูลต่างๆ ในใบ form e

รูปแบบ FORM E และการกรอกข้อมูล
รูปแบบ FORM E

ช่องที่ 1: ชื่อ ที่อยู่  และประเทศ ของผู้ส่งออก ตามหน้า invoice

ช่องที่ 2: ชื่อ ที่อยู่ และประเทศของผู้รับสินค้า ตามหน้า invoice

ช่องที่ 3: วันส่งสินค้าของผู้ส่งออก, ชื่อของเรือ หรือ ไฟล์ทบิน หรืออื่น ๆ เมืองท่าปลายทาง

ช่องที่ 4: ช่องสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการให้สิทธิ์หรือปฏิเสธสิทธิ์

ช่องที่ 5: ลำดับ 1 – 20 รายการ

ช่องที่ 6: เครื่องหมายและเลขหมายบนหีบห่อ

ช่องที่ 7: จำนวนและชนิดของหีบห่อ และรายละเอียดสินค้า และพิกัดสินค้า ( HS Code )

ช่องที่ 8: เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า เช่น WO (Wholly Obtained Products), สัดส่วนเป็น % และ PSR (เป็นไปตามกฎเฉพาะรายสินค้า)

ช่องที่ 9: น้ำหนักรวม (Gross Weight) หรือปริมาณอื่นๆ และ ราคา FOB

ช่องที่ 10: เลขที่และวันที่ของ Invoice

ช่องที่ 11:  ชื่อประเทศผู้ผลิต, ชื่อประเทศผู้นำเข้า, สถานที่ วันที่ และลายเซ็นของผู้ส่งออก

ช่องที่ 12: สถานที่ วันที่ ลายมือชื่อ และตราประทับของผู้มีอำนาจในการออก Form E

ช่องที่ 13: ทำเครื่องหมายหน้าเงื่อนไขในกรณีเป็นการออกฟอร์มในกรณีพิเศษดังต่อไปนี้

  • Issued Retroactively = กรณีที่เป็นการออก C/O ย้อนหลัง
  • Exhibition = กรณีมีวัตถุประสงค์ในการนำไปจัดแสดงสินค้าและขายสินค้าระหว่างงานแสดง
  • Movement Certificate = ภายใต้เงื่อนไขหนังสือรับรองในการเคลื่อนย้าย
  • Third Party Invoicing = ทำการซื้อขายผ่านประเทศที่สาม

รูปแบบหนังสือรับรองฯ Form E ใหม่ จากเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ

 

วิธีการเตรียม FORM E ให้ถูกต้อง

  • ระบุรายละเอียดเอกสารการนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด ให้ถูกต้องครบถ้วนทุกตัวอักษร ทั้งใน Bill of Lading, Commercial Invoice, Packing List, ที่อยู่ ผู้นำเข้าส่งออก, ลำดับสินค้า, เครื่องหมายและเลขที่บนหีบห่อ, จำนวนสินค้า และชนิดของสินค้า รวมถึงรหัสพิกัดสินค้า (HS Code), ถิ่นกำเนิดสินค้า,  และน้ำหนักรวม (Gross Weight), เลขที่และวันที่ของ Invoice
  • ใส่ Shipping Mark ในเอกสารทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเสียภาษี
  • ทำการตรวจสอบพิกัดอัตราภาษีนำเข้า (HS Code) โดย Shipping ที่ก่อนเสมอแล้วจึงนำออกของ ควรขอ Draft FORM E จากผู้ขาย เพื่อตรวจสอบข้อมูลให้ตรงกัน
  • หากข้อมูลใน Form E ไม่ตรงกับข้อมูลในเอกสารที่ยื่นประกอบควบคู่กัน มีโอกาสที่จะโดนเจ้าหน้าปฏิเสธ Form E และไม่อนุญาตให้ลดหย่อนภาษีอากรสำหรับสินค้านำเข้าได้
  • Form E นั้นมีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
  • ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศจีน
  • แสดงสินค้าได้ไม่เกิน 20 รายการ
  • จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

 

สินค้าประเภทใดบางที่ลดหย่อนภาษีนำเข้า

ไม่ใช่สินค้าทุกประเภทที่นำเข้าจากจีนจะถูกลดหย่อนภาษีได้ คุณสามารถเช็คประเภทสินค้าที่ระบุในข้อตกลง ACFTA เพื่อเช็คสิทธิลดหย่อนทางภาษีเพิ่มเติม

เราเเบ่งประเภทของสินค้าได้เป็น 3 แบบ
1.) สินค้าปกติ (Normal Products) มีจำนวน 5,140 รายการ ที่จีนและไทยเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2548

2.) สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Products) เป็นสินค้าที่ประเทศสมาชิกยังไม่พร้อมจะลดภาษีพร้อมกับสินค้าปกติและต้องการเวลาปรับตัวนานกว่าจะกำหนดให้เป็นสินค้าอ่อนไหว

-ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีน มีรายการสินค้าอ่อนไหวได้ไม่เกิน 400 รายการ (พิกัด 6 หลัก) 

– ไทยมี 251 รายการ เช่น น้ำผลไม้, ยางรถยนต์, รองเท้า, กระจก, เหล็กและผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ไฟฟ้า และของเล่น เป็นต้น 

– จีนมี178 รายการ เช่น กาแฟ, ยาสูบ, ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง, ขนสัตว์ฝ้าย และยานยนต์เป็นต้

3.) สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive Products) ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีนต้องจำกัดรายการสินค้าอ่อนไหวสูงไม่เกิน 100 รายการ หรือร้อยละ 40 ของจำนวนรายการสินค้าอ่อนไหวแล้วแต่ว่าเงื่อนไขใด ส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า
– สินค้าอ่อนไหวสูงของไทยมี100 รายการ เช่น สินค้าเกษตรที่มีโควตาภาษีทั้งหมด 23 รายการ เช่น นมและครีม มันฝรั่ง หอม กระเทียม กาแฟ ไหมดิบ หินอ่อน และยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น 

– สินค้าอ่อนไหวสูงของจีนมี100 รายการ เช่น ข้าวโพด ข้าว พืช น้ำมัน น้ำตาล ยางธรรมชาติไม้ของทำด้วยไม้กระดาษ/ผลิตภัณฑ์และรถยนต์นั่ง เป็นต้น

 

เช็คข้อมูลตารางการลดภาษีนำเข้าของแต่ละประเทศสมาชิก ACFTA ได้ที่นี่
https://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/ServiceData-Information/dft-service-data-privilege/Detail-dft-service-data-privilege/ArticleId/13447/13447ACFTA
http://www.thaifta.com/thaifta/portals/0/factbook_cn.pdf

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก