การขนส่งจีนทางเรือ คือ
บริการชิปปิ้งจากประเทศจีนมายังประเทศปลายทาง โดยขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยเรือ (Sea Freight) สินค้าจากต้นทางจะถูกส่งมายังโกดังบริษัทชิปปิ้ง ทีมงานชิปปิ้งโหลดสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์เพื่อนำขึ้นเรือและขนส่งมาที่ประเทศไทยปลายทาง โดยบริษัทชิปปิ้งจะทำหน้าที่จัดการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
ชิปปิ้งจีนทางเรือก็เป็นทางเลือกที่นิยม มีทั้งการสั่งสินค้าแบบแชร์ตู้คอนเทนเนอร์ ได้ทั้ง LCL และ FCL (ในกรณีที่จำนวนสินค้าที่สั่งมีจำนวนไม่มากพอที่จะโหลดใส่ตู้ตอนเทนเนอร์ได้ จะใช้การเเชร์รวมกับสินค้าอื่นๆ) และแบบเหมาตู้คอนเทนเนอร์ FCL
ขนส่งจากจีนทางเรือ ใช้เวลากี่วัน
Fast Cargo Logistic ใช้เวลาในการชิ้ปปิ้งทางเรือ อยู่ที่ 12-15 วัน เราขนส่งจากเมืองกวางโจว เเละอี้อู
ข้อดี ขนส่งจากจีนทางเรือ
– ขนส่งจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ได้มากกว่าทางรถ
– ขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก
– ประหยัดค่าส่งได้มากกว่าการขนส่งทางรถ ทำให้การสั่งสินค้าปริมาณมากถูกลง
ข้อจำกัด ขนส่งจากจีนทางเรือ
ระยะเวลาส่งที่ใช้เวลาประมาณ 12-15 วัน ใช้เวลาขนส่งนานกว่าขนส่งทางรถ
ทำให้เราได้รับสินค้าช้ากว่าการขนส่งทางรถ
ขนส่งจากจีนทางเรือเหมาะกับใคร
– สั่งสินค้าจากจีนในปริมาณมาก
– ขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก
– ไม่ต้องรีบนำเข้าสินค้า เพราะการชิปปิ้งทางเรือใช้เวลาค่อนข้างนาน
ขั้นตอนเเละวิธีการขนส่งจากจีนทางเรือ
- ผู้ส่งออกสินค้า (Exporter) ในที่นี้คือทางโรงงานจีน เตรียมเอกสารการส่งออกให้กับบริษัทตัวแทนขนส่ง (Freight Forwarder)
จองระวางเรือขนส่งกับสายการเดินเรือ (Shipping Line) และได้รับใบยืนยันการจองระวางเรือ (Booking Confirmation) เรียบร้อยเล้ว ส่งเอกสารรับรองน้ำหนักสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (VGM) ให้กับบริษัทตัวแทนขนส่ง - เมื่อขั้นตอนการยื่นเอกสารเเละจองเรือผ่านแล้ว สินค้าจากโรงงานจีนจะถูกแพ็คและบรรจุสินค้า เพื่อเตรียมโหลดที่ท่าเรือต้นทาง ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบยืนยันการจอง
– สำหรับการส่งเเบบ FCL (เหมาตู้คอนเทนเนอร์) สินค้าจะถูกโหลดขึ้นตู้คอนเทนเนอร์จัดเก็บที่ Terminal รอโหลดขึ้นเรือ
– สำหรับการส่งเเบบ LCL สินค้าถูกนำใส่รถบรรทุก จะถูกโหลดใส่ตู้คอนเทนเนอร์ รวมกับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ CFS (Container Freight Station) เพื่อรอโหลดขึ้นเรือ - ผู้นำเข้าสินค้าทำพิธีการศุลกากรขาออก
ก่อนที่สินค้าจะสามารถโหลดขึ้นเรือเพื่อขนส่งได้ จะต้องได้ใบอนุญาตส่งออก
ขั้นตอนนี้บริษัทชิปปิ้ง จะเป็นผู้รับผิดชอบยื่นเอกสารสำคัญให้กับทางศุลกากร แจ้งข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่
– ใบขนสินค้าขาออกต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ
– บัญชีราคาสินค้า (Comercial Invoice) 2 ฉบับ
– บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
– ใบอนุญาตส่งออก (Export License)
– เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารประกันภัยหรือเอกสารตามที่ศุลกากรกำหนดความสำคัญในขั้นตอนนี้คือ ถ้าเอกสารไม่ครบก็จะไม่สามารถส่งออกได้หรือสินค้าไม่ผ่านพิธีศุลกากรขาเข้าที่ปลายทางได้ - สายการเดินเรือโหลดตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นเรือและออกใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ B/L) ให้กับผู้ส่งออก เป็นเอกสารยืนยันการได้รับสินค้า โดย B/L จะระบุชัดเจนถึงประเภทของสินค้าคือ จำนวน และสถานที่ปลายทาง และมีการลงลายมือชื่อโดยตัวแทนที่ได้รับอนุญาตของผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้า และผู้รับสินค้ากำกับสายการเดินเรือจะมีการเรียกเก็บค่าบริการ (Freight and Local Charges) จากผู้ส่งออก
- เรือบรรทุกสินค้าขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง
เมื่อถึงท่าเรือปลายทาง ก็จะยกตู้คอนเทนเนอร์สินค้าลงจากเรือไปจัดเก็บที่เทอมินอล รอการเคลียร์สินค้าขาออกจากผู้นำเข้าสินค้า
ผู้นำเข้าสินค้าต้องชำระค่าใช้จ่ายปลายทาง (Local Charges) พร้อมกับนำใบตราส่งสินค้า B/L และ Arrival Notice ไปเปลี่ยนเป็นใบตราส่งสินค้า (Delivery Order หรือ D/O) เพื่อนำตู้สินค้าออกจากเทอร์มินอล - ผู้นำเข้าผ่านพิธีทางศุลกากรขาเข้า
บริษัทชิปปิ้งผู้นำเข้าสินค้า ยื่นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการผ่านพิธีศุลกากรขาเข้า ได้แก่
– ข้อมูลเรือเข้า
– ใบตราส่งสินค้า
– แบบรายละเอียดบรรจุหีบห่อ
– ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน
– ใบอนุญาตหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่ศุลกากรกำหนดเอกสารดังกล่าวจะถูกจัดเก็บสู่ระบบออนไลน์หรือผ่าน Service Counter และถูกแปลงเป็นใบขนสินค้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเรือเทียบท่า จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่บริษัทชิปปิ้งเเจ้งไว้ในระบบ เเละชำระภาษีอากรขาเข้าให้กับกรมศุลกากร - ผู้นำเข้านำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร และใบปล่อยสินค้า D/O ไปรับสินค้าออกจากเทอมินัล นำรถบรรทุกขนสินค้าไปเก็บที่โกดังของผู้นำเข้า เมื่อสินค้ามาโกดังแล้ว ผู้นำเข้าจะทำการตรวจสอบสภาพสินค้าและความเรียบร้อยก่อนเซ็นรับสินค้า
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจีนทางเรือ
ในกระบวนการส่งออกและนำเข้าสินจากจีนมาที่ไทย มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินดังนี้
- ภาษีนำเข้า ใช้สำหรับสินค้าทั่วไปหรือสินค้าพวกวัตถุดิบธรรมดาเท่านั้น สูตรการคำนวณคือ
การคำนวณภาษีนำเข้า = (ราคานำเข้าสินค้าบนใบ Invoice x อัตราแลกเปลี่ยน) x อัตราภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 7% - ค่ารับใบตราส่งสินค้าหรือ Delivery Order (D/O) เป็นเอกสารที่ทางสายเรือจะออกให้กับผู้นำเข้าเพื่อนำไปรับสินค้าจากท่าเรือที่นำเข้า เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการบรรทุกสินค้า1.) FCL (Full Container Load) การบรรทุกสินค้าแบบเต็มตู้ (แบบเหมาตู้)
เสียค่านำตู้สินค้ามาลงไว้ที่ท่าเรือ คิดค่าระวางตามจำนวนตู้
– ตู้ขนาด 20 ฟุต ใช้อัตรา 4,000 – 5,000 บาท ขึ้นไป
– ตู้ขนาด 40 ฟุต ใช้อัตรา 5,000 – 6,000 บาท ขึ้นไป2.)LCL (Less Container Load) การบรรทุกสินค้าแบบไม่เต็มตู้
เสียค่าสินค้าเข้าโกดังพักสินค้าและออกเอกสารรับรองสิทธิ์การรับสินค้า คิดค่าระวางตามลูกบาศก์เมตร (CMB) หรือน้ำหนักปริมาตร (Weight Ton)
– ใช้อัตรา 3,500 – 4,500 บาท และคิดค่าส่วนเกินที่ประมาณ 1,500 บาท (วิธีคำนวนน้ำหนักปริมาตร = กว้าง x ยาว x สูง (ซ.ม.) /1,000,000) - ค่าออกเอกสาร B/O (Bill of Lading) หรือใบตราส่ง คือ เอกสารสำคัญในระบบการขนส่งทางเรือ ที่ทางสายเรือต้นทางออกให้กับผู้ส่งออกเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์สำหรับสินค้าที่ขนส่ง จะมีรายละเอียดของชื่อผู้ส่งออก ชื่อผู้รับสินค้า ชื่อสินค้า จำนวนหีบห่อ จำนวนน้ำหนัก จำนวนตู้ เบอร์ตู้ ขนาดของตู้ ประเภทของตู้ และมีกฎระเบียบของทางสายเรือระบุอยู่ด้านหลังของเอกสาร
มีการออกเป็น B/O หลายฉบับ เช่น ฉบับ Original, Duplicate Original, Triple Original และ Copy Non-Negotiate ทั้งหมดนี้ทางบริษัทเรือจะเรียกเก็บจากผู้ส่งออกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร นอกจากนี้ ยังอาจมีค่าใช้จ่าย Local Charge อื่นๆ เพิ่มเติมในการดำเนินการภายในท่าเรือ
หากคุณกำลังมองหาชิปปิ้ง ขนส่งจากจีนทางเรือ หรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่ม ติดต่อทีมฝ่ายขาย Fast Cargo Logistics ได้ค่ะ
Tel : 02-002-1313 / 099-009-9796
Email : fastcargologistic.center@gmail.com
เพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมศุลกากร:
พิธีการศุลกากรนำของเข้าทางเรือ